วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551



กาชาดจังหวัดนราธิวาส
Narathiwat Red Cross Festival



บริเวณเต็นท์ สนง.วัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส



การแสดงดิเกฮูลูของเยาวชน ณ เต็นท์สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส







การสาธิตเพ้นท์เรือกอและจำลองโดยเยาวชนบ้านทอน




นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนราธิวาสเยี่ยมชม



















วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

มัสยิดวาดี อัล ฮูเซ็น มัสยิด 300 ปี (Masjid wadi al Husen)

ประวัติมัสยิดวาดี อัล ฮูเซ็นมัสยิดวาดี อัล ฮูเซ็น หรือ มัสยิด ตะโละมาเนาะ หรืออีกชื่อหนึ่งคือมัสยิด ๓๐๐ ปี เป็นมัสยิดที่เก่าแก่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบาเจาะเพียง ๔ กิโลเมตร ทางเข้ามัสยิดแห่งนี้แยกจากเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒ (สายเอซีย๑๘ ) เส้นนราธิวาส – ปัตตานี ตรงทางแยก บ้านบือราแงรถยนต์สามารถเข้าถึงมัสยิด มัสยิดแห่งนี้สร้างโดย วันฮูเซ็น อัส ซานาวี ซึ่งเป็นครูสอนศาสนาอพยพมาจากบ้านสะนอ จังหวัดปัตตานี ตามบัญชาของราชาซาลินดงบายู หรือ ราชาตะลูบันเมื่อครั้งอพยพหนีการรุกรานของกองทัพสยามแต่ความจริงแล้วกองทัพสยามไม่ได้ยกทัพมาตีเมืองปัตตานี
Abdul Halim Nasir. Seni Bina Masjid di Dunnia Melayu – Nusantara. National University of Malaysia : (UKM) Bangi, ๑๙๙๕ : ๑๑๗-๑๒๑.

ท่านมุบีน เซฟเพิร์ด (อ้างโดยอับดุลลอฮฺ ลออแมน, ๒๕๔๗) ได้เขียนในหนังสือของท่านที่ชื่อ “ตามัน อินดรา” (Taman Indera) ตอนอธิบายภาพมัสยิดตะโละมาเนาะ ซึ่งลงภาพเต็มหน้าว่า สร้าง ๒๐๐ กว่าปีมาแล้ว แต่ในฟุตโน้ตบอกว่า ๓๐๐ ปี มุบีน เซฟเพิร์ด อดีตผู้สำเร็จราชการหรือข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำสหพันธ์รัฐมาลายา(มาเลเซียในอดีต) มีความสนใจในมัสยิดตะโละมาเนาะเคยมาดูมัสยิดตะโละมาเนาะหลายครั้ง ท่านได้กล่าวไว้ว่า
“หากอาคารมัสยิดหลังนี้พังทลาย
ย่อมจะนำมาซึ่งความสูญสลายของอาคารเดิม
ที่เต็มไปด้วยคุณค่าสูงยิ่งของสถาปัตยกรรมมลายูแท้”
ฮาญะฮฺ บีดะฮฺ ชาวบ้านตะโละมาเนาะที่มีอายุมากคนหนึ่ง (อายุ๑๐๔ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๓๒ ซึ่งบัดนี้เสียชีวิตแล้ว) บอกว่าบิดาของนางซึ่งสิ้นชีวิตเมื่ออายุ ๑๕๐ ปี ขณะนั้นนางอายุ ๒๐ ปี ได้เล่าให้นางฟังว่า มัสยิดหลังนี้สร้างก่อนสมัยของท่านหลายชั่วอายุคนแล้ว ย่อมแสดงว่า มัสยิดหลังนี้มีอายุมากกว่า ๒๐๐ ปี
อย่างไรก็ตามปีที่สร้างมัสยิดแห่งนี้ ไม่มีบันทึกที่แน่ชัด จึงเป็นการสันนิษฐานจากตำราประวัติศาสตร์และคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ และการอพยพย้ายถิ่นฐานของท่าน วันฮูเซ็น อัส ซานาวี ไปอยู่ที่บ้านตะโละมาเนาะเพื่อหลบภัยสงครามนั้น หากศึกษาจากประวัติศาสตร์สงครามระหว่างสยามกับปัตตานีในเวลาไล่เลี่ยกับปีที่สร้างมัสยิดตะโละมาเนาะ (ฮ.ศ.๑๐๔๔ / พ.ศ. ๒๑๖๗ ค.ศ.๑๖๒๓) มีคลายครั้ง คือ สงครามในปีพ.ศ.๒๑๔๖, ๒๑๗๕, ๒๑๗๖ และ พ.ศ.๒๑๗๙
สงครามที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๑๔๖ สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชใน “ ตำนานเมืองตานี” (อับรอฮีม ชุกรี, ๒๕๒๕ หน้า ๒๓-๒๔)ระบุว่า ค.ศ. ๑๐๖๓ (พ.ศ.๒๑๔๖) กองทัพเรือสยามก็บ่ายหน้าตรงมาที่เมืองปัตตานี โดยมีออกญาเดโชนำทหารเป็นจำนวนมาก หมายเข้าเมืองปัตตานี นับเป็นพระราชประสงค์ของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยามสมัยนั้น คือสมเด็จพระนเรศวรซึ่งเป็นที่รู้จัก พระนามกันอย่างดีจากประวัติเมืองสยาม ที่พอพระทัยต่อการขยายแสนยานุภาพไปยังหัวเมืองต่าง ๆ กองทัพเรือสยามยกพลขึ้นบกที่ปากอ่าวเมืองปัตตานี และได้บุกเข้าประชิดเมือง รายาฮีเยาได้นำทหารเมืองปัตตานีออกต่อต้านอย่างเต็มความสามารถ และได้กำลังสนับสนุนจากพ่อค้าเป็นอย่างมาก เช่น ชาวยุโรปให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับอาวุธและปืนใหญ่ พร้อมด้วยทรัพย์สินเงินทอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทหารเมืองปัตตานีใช้ปืนใหญ่ยิงกราดไปยังทหารชาวสยาม เป็นผลให้ชาวกรุงศรีอยุธยาได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก และได้เดินทางกลับไปยังดินแดนของตน”
สมัยครั้งพระเจ้าปราสาททองขึ้นครองราชย์ครองกรุงศรีอยุธยา มีหัวเมืองชายแดน พากันแข็งข้อ จึงให้พระออกยาเดโชยกทัพไปปราบ แต่กระทำไม่สำเร็จตามคำสั่ง ต้องถอยทัพกลับมาทั้งสองครั้ง (ดิลกธิรธร, ๒๕๑๗) ในหนังสือ “ประวัติศาสตร์มลายูและปัตตานี” ของ ม.ล.มานิจ ชุมสาย ได้เขียนว่า “สมัยนี้เป็นสมัยที่แปลกเพราะปัตตานีมีแต่พระราชินีต่อ ๆ กันไปหลายพระองค์ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ จนสิ้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปัตตานีรุ่งเรื่องมั่งคั่งสมบูรณ์ เพราะพวกฝรั่งและชาวต่างชาติอื่น ๆ มาตั้งห้างค้าขายกับชาวพื้นเมือง อีกทั้งยังส่งสินค้าพื้นเมืองไปค้าขายถึงเมืองจีนและญี่ปุ่น เรือฝรั่งผ่านไปมาก็แวะที่เมืองนี้
จากเรื่องดังกล่าวพอสรุปได้ว่า การที่กองทัพสยามตีปัตตานีไม่สำเร็จในสงคราม ปี พ.ศ. ๒๑๔๖ (ค.ศ.๑๖๐๓) นั้น ทางปัตตานีคงคาดว่าสงครามใหญ่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนปัตตานีจึงเตรียมปกป้องอย่างรอบคอบและต้องหาทางช่วยเหลือหลายด้าน ขณะเดียวกันปัตตานีเองก็ไม่ประมาทจึงได้ส่งบุคคลสำคัญ ๆ โดยเฉพาะอุลามะอ์(นักปราชญ์ โต๊ะครู) ไปอยู่ในที่ปลอดภัย ดังเช่น กรณีของท่านวัน ฮูเซ็น อัส-ซานาวี ผู้สร้างมัสยิดตะโละมาเนาะ ที่พระราชาซาลินดงบายู (ตะลูบัน)ส่งไปหลบภัยสงครามที่บ้านตะโละมาเนาะ
ในกรณีนี้ จึงสันนิษฐานได้ว่า มัสยิดตะโละมาเนาะได้ถูกสร้างขึ้นใน ปี ฮ.ศ.๑๐๔๔ (ประมาณ พ.ศ. ๒๑๖๗) ก็อยู่ในช่วงระว่างสงคราม พ.ศ. ๒๑๔๖ กับสงคราม พ.ศ.๒๑๗๓ หรือ ๒๑๗๕ คือสงครามครั้งแรก ๒๑ ปี หรือก่อนสงครามครั้งต่อมา ๖-๗ ปี
คณะนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมาเลเซีย ได้ทำการวิจัยมัสยิดตะโละมาเนาะโดยได้เดินทางมาทำการวิจัยและพักอาศัย ณ มัสยิดแห่งนี้เป็นเวลา ๑ เดือน(Ahmad Zulkhairullah Embong, ๑๙๙๗/๑๙๙๘) ในงานวิจัยได้ระบุว่า ช่างที่เป็นผู้สร้างมัสยิดตะโละมาเนาะ คือ มูฮำหมัด และ อับดุล ราอูฟ เป็นชาวบ้าน บ้านสุไหงบาตูซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้เคียงกับบ้านตะโละมาเนาะ ทั้งสองท่านเป็นช่างที่มีความชำนาญในการก่อสร้างและแกะสลักลวดลายต่าง ๆ ดังจะเห็นงานแกะสลักลวดลายที่ประดับประดาบนอาคารมัสยิดตะโละมาเนาะแห่งนี้ ซึ่งตรงกับคำบอกเล่าของ นายอับดุลลาเต๊ะ ตะโล๊ะดิง
[1] ชาวบ้านบ้านตะโละมาเนาะ
: เอกสารวิจัยเรื่อง : มัสยิดตะโละมาเนาะ,อะห์มัดซุลไครุลเลาะ อัมบงและคณะ(Masjid Teluk Manok Narathiwat,Thailand, Ahmad Zulkhaillah Embong(dll.), Universiti Teknologi Malaysia, 1997/98
เครื่องมือในการก่อสร้างบางส่วน มัสยิดตะโละมาเนาะสร้างจากไม้ตะเคียนทั้งหลัง อาคารทั้งหลังไม่ได้ใช้ตะปูหรือสกรูยึดแม้แต่ตัวเดียว แต่ใช้วิธีการบากและใช้สลักไม้แทน ส่วนเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ก่อสร้างในสมัยนั้นอย่างเช่น บือจือตา (รูปร่างคล้ายขวาน) บือลียง (ลิ่ม) หินกัด บายี (ผึ่ง-รูปร่างคล้ายจอบ)และเครื่องมือที่ทำด้วยเหล็กและทองแดงอื่น ๆ เสามีจำนวน ๒๖ ต้น เป็นเสาไม้ตะเคียนสี่เหลี่ยม ขนาด ๑๐x๑๐ นิ้ว พื้นทำด้วยไม้ตะเคียน หนา ๒ นิ้ว ฝาปะกนประดับประดาด้วยลวดลายนูนสูง หน้าต่างทำด้วยไม้ทั้งแผ่นแกะสลักลวดลายต่าง ๆ ส่วนโครงสร้างบนแกะสลักเป็นลวดลายดอกนมแมว ที่ยังไม่บานและบานแล้ว บานประตูแกะสลักอักษรภาษาอาหรับ (อัล กุรอาน) ที่ละเอียดสวยงาม โดยได้กำกับปีที่ทำ(ฮ.ศ.๑๒๖๖ / ค.ศ. ๑๘๔๖ / พ.ศ. ๒๓๘๙)
[1] อับดุลลาเต๊ะ ตะโละดิง อยู่บ้านเลขที่ ๖๔/๑ ม.๑ ต.ลุโบะสาวอ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ซึ่งบุตรชายของอิหม่ามอับดุลราซิดซึ่งเป็นอิหม่ามคนที่ ๕ ของมัสยิดวาดี อัลฮูเซ็น และเป็นน้องชายของหะยีอัฮหมัด อิหม่ามคนที่ ๗ อิหม่ามมูฮำหมัดอาซิดดี อิหม่ามคนที่ ๖
ที่มารูปที่ ๒ : เอกสารวิจัยเรื่อง : มัสยิดตะโละมาเนาะ,อะห์มัดซุลไครุลเลาะ อัมบงและคณะ(Masjid Teluk Manok Narathiwat,Thailand, Ahmad Zulkhaillah Embong(dll.), Universiti Teknologi Malaysia, 1997/98
แผ่นแกะสลักลวดลายต่าง ๆ ส่วนโครงสร้างบนแกะสลักเป็นลวดลายดอกนมแมว ที่ยังไม่บานและบานแล้ว บานประตูแกะสลักอักษรภาษาอาหรับ (อัล กุรอาน) ที่ละเอียดสวยงาม โดยได้กำกับปีที่ทำ(ฮ.ศ.๑๒๖๖ / ค.ศ. ๑๘๔๖ / พ.ศ. ๒๓๘๙)

๕.๑ ผู้บุกเบิกมัสยิดวาดี อัล ฮูเซ็น (มัสยิดตะโละมาเนาะ)

มัสยิด วาดี อัล ฮูเซ็น ได้ริเริ่มสร้างโดย วันอูเซ็น อัส-ซานาวี เป็นอิหม่ามคนแรกของมัสยิด หลังจากที่ท่านเสียชีวิตผู้ครอบครองมัสยิดก็ยังคงเป็นบรรดาลูกหลานของท่านจนถึงทุกวันนี้

วันฮุเซ็น อัส-ซานาวี คือใคร

วันฮุเซ็น อัส-ซานาวี คือผู้ริเริ่มก่อสร้างมัสยิดตะโละมาเนาะ หรือ มัสยิดวาดี อัล ฮูเซ็น หรืออีกชื่อหนึ่งคือ มัสยิด ๓๐๐ ปี มัสยิดเรือนไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในแถบนี้ คำว่า “อัส-ซานาวี” คือ ชื่อเรียกตามภูมิลำเดิมของท่าน คือ ท่านมาจากหมู่บ้านสะนอญัณญาร์ จังหวัดปัตตานี ท่านและภรรยานางกัลซุม(ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านม่วงหวาน จังหวัดปัตตานี)พร้อมด้วยลูกศิษย์ลูกหาที่เป็นผู้บุกเบิกหมู่บ้านตะโละมาเนาะ
รายงานกล่าวว่า อิหม่ามวันฮุเซ็น อัส-ซานาวี เป็นอิหม่ามใหญ่แห่งบ้านสะนอ ญันญาร์ ได้ผลิตอูลามะอฺ (นักปราชญ์หรือผู้รู้ในด้านศาสนา)ของเมืองปัตตานี ท่านเป็นศิษย์ของ ท่านสุนัน อัมเปล อูลามะอฺที่ไปเปิดสถาบันปอเนาะ ณ เกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย และมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับท่าน
อิหม่ามวันฮุเซ็น อัส-ซานาวี เป็นอูลามะอฺที่สามารถท่องจำภัมคีร์อัลกรุอานได้หมดทุกบทอย่างลึกซึ้ง(ฮาฟิส)ทั้งยังสามารถเขียนอัลกุรอานด้วยลายมือตัวเองซึ่งเป็นสิ่งที่ล้ำค่ามากมายต่อชาวไทยมุสลิมและตำราด้านศาสนาอิสลามให้ลูกศิษย์ได้ศึกษา ซึ่งปัจจุบันนี้อัลกุรอานที่ท่านเขียนไว้ยังคงอยู่และอยู่ในความดูแลของหะยีอับดุลฮามิด บินหะยีอับดุลยูโซะ(ปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว) เชื้อสายตระกูลวันฮุเซ็น ลำดับที่ ๖
วันฮุเซ็น มีพี่น้องหลายคน รายงานระบุว่าท่านมีพี่น้องทั้งหมดเจ็ดคน คนโตมีชื่อว่าวันสนิหรือวันอิดริส กระทั่งนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงคนหนึ่งของเมืองปัตตานีที่มีนามว่า เชคดาวุด อับดุลเลาะ อัล ฟาตอนี ก็คือหลานคนหนึ่งของวันฮุเซ็น บิดาของวันฮุเซ็นมีชื่อว่า สุลต่าน ก็อมบุล หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า สัยยิดอะลี นูรุล-อาลัม มีประวัติที่พิสดารมาก และมีความสัมพันธ์กับวาลี(ผู้มีญานวิเศษ)ทั้ง ๙ ของอินโดนีเซีย
[1] รายชื่อพี่น้องของวันฮุเซ็น อัส ซานาวี มีดังนี้ ๑.ตันสะรี ฮุสเซ็น อัล-ฟาตอนี (อดีตเอกอัคราชทูตซาอุดิอาราเบียของมาเลเซีย) ๒.วันบีรู ๓. วันยามัล[2] ๔.วันดือมาลี๕. วันโบล ๖. วันฮุเซ็น[3] ๗. วันฮาซัน[4]
ปัจจุบันนี้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ที่บ้านตะโละมาเนาะ หมู่ที่ ๑ ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ ส่วนใหญ่แล้วต้นตระกูลมาจากวันฮุเซ็น อัส-ซานาวี ในจำนวนลูกหลานของท่านหลายคนได้เป็นผู้นำศาสนาอิสลาม เช่น หะยี อับดุลฮามิด[5] หรือที่รู้จักกันในนาม ปะดอดูกู ผู้บุกเบิกสถาบันปอเนาะดูกู บ้านดูกู อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันนี้สุสานของอิหม่ามวันฮุเซ็น อัส-ซานาวี อยู่ที่บ้านตะโละมาเนาะ ห่างจากมัสยิดวาดี อัล ฮูเซ็น ประมาณ ๒ กิโลเมตร
[1] ดูหนังสือ “การเผยแผ่ศาสนาอิสลามและสายตระกูลอุลามะอฺแห่งโลกมลายู” เล่ม ๒ โดยฮาญีวันมุฮัมมัดเศาะฆีร อับดุลลอฮฺ (Hj. Wan Mohd.Shaghir Abdullah, Penyebaran Islam & Silsilah Ulama Sejagat Dunia Melayu,Persatuan Pengkajian Khazanah Klasik Nusantara & Khazanah Fathaniah, Kuala Lumpur, 1999,2001 หน้า ๔๔-๔๕)
[2] วันยามัลและวันดือลีมา ต่างอาศัยอยู่ ณ กลันตัน ประเทศมาเลเซีย
[3] วันฮุเซ็น อัส-ซานาวี ผู้บุกเบิกมัสยิดตะโละมาเนาะ
[4] ถูกจับเป็นเฉลยของสยามและถูกพาไปยังกรุงศรีอยุธยา สุสานท่านตั้งอยู่ที่ หนองจอก กรุงเทพมหานคร
[5] หะยีอับดุลฮามิด บินหะยีอับดุลยูโซะ (ปะดอดูกู) เสียชีวิตแล้ว


[1] ดูหนังสือ “การเผยแผ่ศาสนาอิสลามและสายตระกูลอุลามะอฺแห่งโลกมลายู” เล่ม ๒ โดยฮาญีวันมุฮัมมัดเศาะฆีร อับดุลลอฮฺ (Hj. Wan Mohd.Shaghir Abdullah, Penyebaran Islam & Silsilah Ulama Sejagat Dunia Melayu,Persatuan Pengkajian Khazanah Klasik Nusantara & Khazanah Fathaniah, Kuala Lumpur, 1999,2001 หน้า ๔๔-๔๕)
[1] วันยามัลและวันดือลีมา ต่างอาศัยอยู่ ณ กลันตัน ประเทศมาเลเซีย
[1] วันฮุเซ็น อัส-ซานาวี ผู้บุกเบิกมัสยิดตะโละมาเนาะ
[1] ถูกจับเป็นเฉลยของสยามและถูกพาไปยังกรุงศรีอยุธยา สุสานท่านตั้งอยู่ที่ หนองจอก กรุงเทพมหานคร
[1] หะยีอับดุลฮามิด บินหะยีอับดุลยูโซะ (ปะดอดูกู) เสียชีวิตแล้ว

ทำเนียบอิหม่ามมัสยิดวาดี อัล-ฮุเซ็น(มัสยิดตะโละมาเนาะ)

เชค อัล-อิดรุส (ปะตานี)

ซัยด์ กูนิง

ซัยด์ อะฮฺมัด อัล-อิดรุส (ซัยด์ ฮุเซ็น ยามาดีล กุบรา)

สุลต่าน ก๊อบบุล (อะลี นูรุล อาลัม)

วัน ฮุเซ็น อัส-ซานาวี (๑)

อับดุลเราะมัน(๒) มูฮำหมัด ซาลและ

มูฮำหมด (๓) มูฮำหมัดซาบีดี(๔) ซาอีดะฮฺ

ซามียะห์ + มูฮำหมัดอาซีดดี + กูซูมะฮฺ

อับดุลเราะมัน อับดุลราซิด (๕)

+ ซำซียะห์ + มรอตี

ซำซียะห์ + หะยีอัฮหมัด(๗) มูฮำหมัด อาซิดดี(๖)

อุสตาดรัมลี (๘) อิหม่ามคนปัจจุบัน
+ = แต่งงาน
ทำเนียบอิหม่ามดังกล่าวนี้รับรองโดยโตะครูหะยีอับดุลฮามิด บินะยีอับดุลคาเดร์(ปะดอ ดูกู)


รูปแบบสถาปัตยกรรมมัสยิดวาดี อัล ฮูเซ็น

โดยทั่วไปแล้วมัสยิดในสมัยของอิสลามระยะต้น ๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีลักษณะที่คล้ายกัน ที่บ่งบอกถึงรูปแบบสถาปัตยกรรม วัฒนธรรม ที่มาจากสถานที่เดียวกัน เมืองที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องในการสร้างมัสยิด เช่น จำปา กลันตัน ปัตตานี และชวา มัสยิดสมัยต้น ๆ ของอิสลามในแถบนี้ คือ มัสยิดกำปงลาวด์ (Laut) ประเทศมาเลเซีย มัสยิดเดมัก (Demak) มัสยิดกุโนกุดุส (Kuno Kudus)ประเทศอินนีเซีย มัสยิด เอาร์ (Aur)
[1] ตลาดนัดตันหยง จังหวัดปัตตานี และมัสยิดตะโละมาเนาะ (วาดี อัล ฮูเซ็น) มีโครงสร้างที่ละม้ายคล้ายกัน คือ มีหลังคาลักษณะรูปทรงปิรามิด และวางซ้อนกันอยู่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
รูปที่ ๓ มัสยิด เอาร์ (Aur) จากคำบอกเล่าของมูฮำหมัด บินวันปูเต๊ะ นายช่างผู้รับผิดชอบการต่อเติมอาคารที่เห็นกันในปัจจุบันนี้ ท่านได้เล่าให้ฟังว่า ไม้ที่นำมาสร้างมัสยิดวาดี อัล ฮูเซ็น เป็นไม้ที่นำมาจากป่าบริเวณหมู่บ้านตะโละมาเนาะและเทือกเขาบูโดที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธ์ไม้ต่าง ๆ ไม้ที่นำมาสร้างมัสยิดคือ ไม้ตะเคียน จำนวน ๓ ต้นที่มีขนาดหลายคนโอบใช้เวลาในการตัดโค่นไม้ตะเคียนแต่ละต้นไม่น้อยกว่า ๑ วัน ซุงแต่ละต้นนำมาตัดด้วยเครื่องมือวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น คือ บือจือตา (รูปร่างคล้ายขวาน) บือลียง (ลิ่ม) หินกัด บายี (ผึ่งรูปร่างคล้ายจอบ) โครงสร้างหลัก ๆ ของอาคารนายช่างจะต้องทำ ณ สถานที่ก่อสร้างมัสยิด เช่น เสา คานบน คานล่าง เป็นต้น และส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น การแกะสลักลวดลายเพื่อประดับประดาอาคารต่าง ๆ นายช่างแต่ละคนนำกลับไปทำที่บ้านของแต่ละคน

การขึ้นโครงสร้างหลัก ๆ เช่น เสา อะเส คานล่าง ของมัสยิดตะโละมาเนาะ ใช้เวลามากกว่า ๓ ปี กว่าจะเสร็จสมบูรณ์ เสาแต่ละต้นจะถูกปักลงในดินประมาณ ๑ เมตร เพื่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวอาคาร บางรายงานกล่าวไว้ว่าในระยะเริ่มแรกของก่อสร้างมัสยิดสันนิษฐานว่าพื้นใช้ไม้กระดานวางเรียงบนพื้นดินแบบ ง่าย ๆ โดยไม่ได้ยกพื้นจึงไม่ต้องมีคานและตง แต่รายงานนี้ค้านกับบ้านทั่ว ๆ ไป ของชาวมุสลิมแถบนี้ (บ้านแบบดั้งเดิมของชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกือบทั้งหมดเป็นบ้านยกพื้น) อาจเป็นไปได้ว่า รายงานที่ว่า เรือนมัสยิดตะโละมาเนาะตอนแรกเป็นเรือนที่ไม่ยกพื้น เป็นการสันนิษฐานจากการบอกเล่าที่ว่า เสาของมัสยิดหลังนี้ปักลึกลงไปในดินถึง ๑ เมตรหรือประมาณ ๒ ศอก จึงเข้าใจว่าเป็นเรือนไม้ยกพื้น ส่วนฝาในระยะแรกทำมาจากปีกไม้ที่เหลือจากการทำเสาและโครงสร้างอื่น ๆ บางส่วนอาจปิดด้วย ใบจากที่ทำไว้มุงหลังคา ต่อมามีการต่อเติมส่วนที่เป็น มิหฺร้อบ โดยทำเป็นเรือนอีกหลังหนึ่งเป็นเรือนปั้นหยา ระหว่างหลังคาที่เป็นเรือนใหญ่กับเรือนมิหฺร้อบที่ต่อเติมใหม่มีรางน้ำที่ทำจากท่อนไม้ตะเคียนผ่าแล้วใช้วิธีขุดเป็นร่อง(ขณะนี้รางน้ำถูกทิ้งไว้ใต้ถุนมัสยิด)
[1] ที่มารูปที่ ๓ : Abdul Halim Nasir. Seni Bina Masjid di Dunnia Melayu – Nusantara. National University of Malaysia : (UKM) Bangi, ๑๙๙๕ : ๑๑๗-๑๒๑.(หนังสือศิลปะการก่อสร้างมัสยิดมัสยิดของโลกมลายู-คาบสมุทรมลายู)

รูปที่ ๔ รางน้ำไม้ระหว่างอาคารมิหฺร้อบที่ต่อเติมรูปที่ ๔ รางน้ำไม้หลังจากสร้างมาประมาณ ๕๐ ปี เป็นช่วงที่มีการปรับปรุง กล่าวคือ มีการยกพื้นสูงขึ้นเท่าที่เราเห็นในปัจจุบัน มีชานและบันไดแบบง่าย ๆ พาดที่ชาน มีการทำสะพานระหว่างมัสยิดกับลำธาร เพื่อความสะดวกสำหรับผู้ที่จะอาบน้ำละหมาดโดยไม่ต้องเดินบนพื้นดิน และปลอดภัยแก่ผู้ที่จะไปละหมาดในมัสยิด โดยเฉพาะเวลาค่ำและยามรุ่งอรุณ
มีเรื่องเล่าจากชาวบ้านว่า ขณะที่บนเทือกเขาบูโดชาวบ้านกำลังตัดต้นไม้เพื่อนำมาสร้างมัสยิด ท่อนซุงที่ถูกตัดเป็นท่อน ๆ ได้กลิ้งลงมาจากเทือกเขาตรงมายังท่านวัน ฮุเซ็น อัส-ซานาวี (ผู้ริเริ่มสร้างมัสยิดตะโละมาเนาะ) ซึ่งขณะนั้นท่านกำลังละหมาด ทันใดนั้นปฏิหารก็บังเกิดขึ้น คือ ท่อนไม้ซุงที่กำลังกลิ้งมาหาท่านวัน ฮุเซ็น หยุดกลิ้งกระทันหัน หลังจากท่านละหมาดเสร็จเรียบร้อยก็หลีกทางให้ไม้ซุงกลิ้งต่อไป ปฏิหารที่ ๒ คือ ขณะที่ช่างก่อสร้างกำลังจะยกท่อนซุงเพื่อปักเป็นเสาซึ่งมีน้ำหนักมากนั้น แต่เมื่อท่านวัน ฮุเซ็นมาช่วยยกท่อนซุงที่มีน้ำหนักมากเหล่านั้นกลับเบาจนช่างรู้สึกได้

(ตอนต่อไป)

Latar belakang Masjid wadi al Husen
Masjid wadi al Husen atau di kenali atas nama masjid taluk manok atau masjid 300 tahun (nama tenpatan)
bersambong